ไขคำตอบ “พิธา” ถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. กระทบโหวตนายกฯหรือไม่-

จากกรณีศาลรัฐธรรมนูญ มีมติรับพิจารณาคำร้องกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 ว่า สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) ของ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ พร้อมมีคำสั่งให้ นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2566 จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย

ถึงจุดนี้หลายคนคงสังสัยว่า การสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. จากกรณีดังกล่าว กระทบการโหวตนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือไม่?

โดยรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 82 บัญญัติว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.)หรือสมาชิกวุฒิสภา(สว.) จํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิก ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงตามมาตรา 101 (3) (5) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (12) หรือมาตรา 111 (3) (4) (5) หรือ (7) แล้วแต่กรณี และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคําร้อง ส่งคําร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่

เมื่อได้รับเรื่องไว้พิจารณา หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคําวินิจฉัยแล้ว ให้ศาลรัฐธรรมนูญแจ้งคําวินิจฉัยนั้นไปยังประธานแห่งสภาที่ได้รับคําร้องตามวรรคหนึ่ง ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้ถูกร้องสิ้นสุดลง ให้ผู้นั้นพ้นจากตําแหน่งนับแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ แต่ไม่กระทบต่อกิจการที่ผู้นั้นได้กระทําไปก่อนพ้นจากตําแหน่ง

มิให้นับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาซึ่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสอง เป็นจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภา

ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงตามวรรคหนึ่ง ให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยตามวรรคหนึ่งได้ด้วย

โดยสรุปได้ว่า บทบัญญัติมาตรา 82 เป็นกรณีที่ สส.หรือ สว.เข้าชื่อร้องต่อประธานสภาฯ ว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง เช่น ขาดคุณสมบัติ มีลักษณะต้องห้าม กระทําการอันเป็นการต้องห้าม ขาดประชุมเกินกําหนด เป็นต้น โดยให้ประธานสภาฯที่ได้รับคําร้อง ส่งคําร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของสมาชิกผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่ และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว หากปรากฏเหตุอันควรสงสัยว่าสมาชิกผู้ถูกร้องมีกรณีตามที่ถูกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้สมาชิกผู้ถูกร้องหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัย

นอกจากนี้ในกรณีที่ กกต.เห็นว่าสมาชิกภาพของ สส.หรือ สว.คนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลงดังกล่าวให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยได้โดยตรง (กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. เป็นไปตามบทบัญญัติส่วนนี้)

พบ ส.ส.บุรีรัมย์ ภูมิใจไทย ถือหุ้น ITV กว่า 4 หมื่นหุ้น

โหวตนายก : "เรืองไกร" ชี้ "พิธา" ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.ทันที เสนอชื่อเป็นนายกฯ ต้องตกไป

มวลชนเดือด! รุกประชิดประตูสภา หลัง "พิธา" ถูกศาลสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่

ทั้งนี้การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ สส.หรือ สว. คนใดหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัยนั้น หมายถึง หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อนชั่วขณะหนึ่ง ระหว่างการพิจารณาว่ามีความผิดหรือมีลักษณะตามคำร้องหรือไม่ แต่ผู้ที่ถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ยังถือว่าดำรงตำแหน่งเป็น สส. หรือ สว.อยู่ ซึ่งหากท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของ สส. หรือ สว. ผู้นั้นไม่สิ้นสุดลงตามคำร้อง ก็จะสามารถกลับมาปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ แต่หากท้ายที่สุดศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของ สส. หรือ สว. ผู้นั้นสิ้นสุดลงตามคำร้อง มักจะสั่งให้พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

อย่างไรก็ตาม การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ นายพิธา หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส. จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคําวินิจฉัยนั้น ตามหลักการจะไม่กระทบกับการเสนอชื่อนายพิธา เพื่อโหวตเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้กำหนดคุณสมบัติบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องเป็น สส.คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

แต่การถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ก่อนที่จะเสนอชื่อโหวตนายกรัฐมนตรี อาจจะทำให้ สส. และ สว. เกิดความกังวลที่จะโหวตสนับสนุน เนื่องจากอาจจะเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 159 ที่บัญยัติ ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 ซึ่งหนึ่งในคุณสมบัติคือไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 ซึ่งลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 (3) บัญญัติห้ามเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ

ทั้งนี้กรณีที่สามารถเทียบเคียงได้คือ การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในปี 2562 ซึ่งนายธนาธร จึงรุงเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ในขณะนั้น ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ชั่วคราว ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 สามารถเสนอชื่อโหวตนายกรัฐมนตรีได้ในวันที่ 5 มิถุนายน 2562 ก่อนจะแพ้เสียงโหวต พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้วยคะแนนเสียง 500 : 244 เสียง

 ไขคำตอบ “พิธา” ถูกสั่งหยุดปฏิบัติหน้าที่ สส. กระทบโหวตนายกฯหรือไม่-